#ພິກຂຸທຸສິນບໍລິໂພກກ້ອນເຂົ້າຢ່າງຂະໂມຍ
[๒๘๗] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลายเป็นผู้มีอุปการะมากแก่เธอทั้งหลาย บำรุงเธอทั้งหลายด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร แม้เธอทั้งลายก็จงเป็นผู้มีอุปการะมากแก่พราหมณ์และคฤหบดีทั้งหลาย จงแสดงธรรมอันงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด จงประกาศพรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิงแก่พราหมณ์และคฤหบดีเหล่านั้นเถิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คฤหัสถ์และบรรพชิตทั้งหลาย ต่างอาศัยซึ่งกันและกันด้วยอำนาจอามิสทานและธรรมทาน อยู่ประพฤติพรหมจรรย์นี้ เพื่อต้องการสลัดโอฆะเพื่อจะทำซึ่งที่สุดแห่งทุกข์โดยชอบด้วยประการอย่างนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเมื่อบำเพ็ญประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่น จงแยกกันไปเที่ยวธรรมจาริกแก่มนุษย์ทั้งหลายตลอดแผ่นดินผืนนี้ เมื่อประกาศสัทธรรมของเราแก่โลกเนืองนิตย์ ก็จงอยู่เสียที่ป่าเขาอันสงัด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเมื่อทำหน้าที่พระธรรมทูต ก็จงปฏิบัติด้วยดีซึ่งคำของเรา สั่งสอนเขาเพื่อประโยชน์แก่สันติของสัตว์ทั้งหลาย พวกเธอไม่มีอาสวะ จงช่วยปิดประตูอบายทั้งสิ้นเสียทุกประตู จงช่วยเปิดประตูสวรรค์ มรรค และผล พวกเธอ จงมีคุณมีกรุณาเป็นต้น เป็นที่อยู่อาศัย เพิ่มพูนความรู้และความเชื่อแก่ชาวโลกทุกประการด้วยการเทศนาและการปฏิบัติ เมื่อพวกคฤหัสถ์ ทำการอุปการะด้วยอามิสทานเป็นนิตย์ พวกเธอ ก็จงตอบแทนพวกเขาด้วยธรรมทานเถิด พวกเธอเมื่อจะแสดงธงชัยของพระฤษีผู้แสวงคุณ ก็จงยกย่องพระสัทธรรม เมื่อการงานที่พึงทำ ทำเสร็จแล้ว ก็จงบำเพ็ญประโยชน์ผู้อื่นเถิด
ແຕ່ຖ້າເປັນພຣະທຸສິນ ໂຍມມາທຳບຸນນຳຈະບໍ່ມີຜົນຫຍັງຫຼາຍ (ທຳບຸນກັບພຣະທີ່ລະເມີດສິນບໍ່ໄດ້ບຸນຫຼາຍ)
[๔๐๖] พ. ดูก่อนมหาบพิตร ทานควรให้ในที่ไหนนั่นเป็นข้อหนึ่งและทานที่ให้แล้วในที่ไหนจึงมีผลมาก นั่นเป็นอีกข้อหนึ่ง ดูก่อนมหาบพิตรทานที่ให้แล้วแก่ผู้มีศีลแลมีผลมาก ทานที่ให้แล้วในผู้ทุศีลหามีผลมากไม่...
ພິກຂຸຜູ້ທຸສິນເຖິງແມ່ນວ່າຈະນັ່ງບໍລິໂພກຢູ່ໃນລະຫວ່າງສົງ ກໍຊື່ວ່າ ບໍລິໂພກຢ່າງຂະໂມຍ
จริงอยู่ การบริโภคมี ๔ อย่าง คือ ไถยบริโภค ๑ อิณบริโภค ๑ ทายัชชบริโภค ๑ สามิบริโภค ๑. ในบริโภคเหล่านั้น ภิกษุเป็นผู้ทุศีล แม้นั่งบริโภคในท่ามกลางสงฆ์ ก็ชื่อว่า ไถยบริโภค เพราะเหตุไร เพราะไม่เป็นอิสระในปัจจัย ๔. ผู้มีศีล ไม่พิจารณาบริโภค ชื่อว่า ของ ไม่เป็นหนี้บริโภค ด้วยประการฉะนี้ เพราะเหตุนั้น พระเถระเมื่อทำการบริโภคซึ่งตนเป็นปุถุชนบริโภค ให้เป็นอิณบริโภค จึงกล่าวอย่างนี้